วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
            
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าประชาชนในชนบทยังขาดสารอาหาร โปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และสัตว์น้ำจำพวกปลาน้ำจืดเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีน ประกอบกับสามารถหาได้ในท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ จึงทำให้ปลาเป็นอาหารที่สำคัญและเป็นอาหารหลักของราษฎรในชนบท แต่การที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับแหล่งน้ำธรรมชาติมี ความเสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งน้ำเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะ สำหรับประชาชนที่ยากจนในชนบท แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมง มีดังต่อไปนี้

๑) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และมีพันธุ์ปลาพระราชทาน มีบ่อเพาะพันธุ์จำนวน ๖ บ่อ สามารถผลิตลูกปลานิลพระราชทานในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จำนวน ๔๒,๔๘๕ ตัว (สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙: ๒๕) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ บ่อยครั้งที่ทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งน้ำต่างๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
๒) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองค้นคว้าวิจัยทางด้าน การประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ซึ่งมิใช่การศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการชั้นสูง แต่ต้องศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมาใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างการค้นคว้าเชิงวิชาการชั้นสูงกับการนำความรู้ที่ ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้เกษตรกรทั่วไปที่ไม่มีความรู้มากนักสามารถนำไปปฏิบัติได้
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรงตระหนักถึง ความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลาไม่ให้มีการแก่งแย่งและเอาเปรียบ กัน และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒)

๓) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมง โดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้นที่ อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง - ชลบุรี (ทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐: ๑๐๑-๒) ด้วยการสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของประชาชนไว้บริโภคตลอดไป
ในกรณีที่ปลาบางชนิด ซึ่งเป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลงจนอาจสูญพันธุ์ได้ เช่นปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในสกุล Catfish ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีอยู่แต่เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น พระองค์ก็ทรงห่วงใยและทรงให้ทำการค้นคว้าหาวิธีการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปลา ชนิดนี้ไว้ให้ได้ พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้าตลอดเวลา จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒)
๔) การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริ เพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งแบบอเนกประสงค์และเกื้อกูลกัน ณ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน" จังหวัดจันทบุรี โดยได้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลา ดำแบบพัฒนา ผสมผสานกับการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนทดแทนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราช ดำริในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการ เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และความขัดแย้งระหว่างนาข้าว กับนากุ้ง โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำ "โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง" จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้วยการกำหนดเขตการ เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้เป็นสัดส่วน และให้มีการสร้างเขื่อนป้องกันไม่ให้น้ำเค็มเข้ามาทำความเสียหายให้กับนา ข้าว และยังทรงแนะนำให้มีการบำบัดน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำก่อนที่จะ ปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ รวมทั้งการจัดทำระบบชลประทานน้ำเค็ม และคลองระบายน้ำเสียแยกจากกันในบริเวณโครงการฯ วิธีการนี้ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำลดลง อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน
ที่มา.....http://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res04.html

ภาพแสดงแหล่งน้ำลำน้ำร่องเบ้อ