วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจัดการประมงโดยชุมชน


        หากการจัดการทรัพยากรประมงไม่มีการ จัดการแบบมีส่วนร่วม จากผู้ได้เสียประโยชน์ประโยชน์ จะทำให้การตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร มีแนวโน้มและทิศทางการ สั่งการจากเบื้องบน (Top-down management) ส่งผลให้ผู้ใช้ทรัพยากรบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการประมง ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ข่าวสารข้อมูลไม่ได้รับการสื่อสารไปถึงผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ใช้ทรัพยากรไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือความรู้สึกรับผิดชอบต่อการดูแลทรัพยากรร่วมกันของท้องถิ่น  นำไปสู่การไม่ยอมรับสิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากรประมง  การละเมิดกติกาที่เป็นข้อตกลงร่วม รวมถึงการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย  ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ทรัพยากรและความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร  และความต้องการใช้ทรัพยากรแบบล้างผลาญ  จะเร่งให้ทรัพยากรประมงที่มีอยู่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ การจัดการร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความรับผิดชอบอำนาจและบทบาทในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วม ในการจัดการ (ได้แก่ผู้ใช้ทรัพยากร ชุมชน และหน่วยงานรัฐ ) เพื่อให้การจัดการประมงมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น 

          ที่มา กรมประมง. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. 2548. โครงการจัดการประมงตามหลักธรรมมาภิบาล

ค่าวลงนา ก็มีปลากิน

".... ลุกมาเมื่อเจ้า บ่ตันฮื้อขวาย แล้วจากคาบงาย เกียมตั๋วหว่านกล้า ฝนตกหัวปี๋ เฮาเติกต๋ากล้า     เปี๋ยไม้ตำตาขูดว้าย....
.....ขึ้นเทือก
เป็นแถว ตามแนวขีดไว้  ยามแฮกต๋ากล้าหนที  ไกล้คาบตอนแล้ว บ่ได้ถอยหนี ลงหนองวารี จี่ปลาแกล้มข้าวๆ..." แหล่นายเฮย...




วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืดแบบมีส่วนร่วม

http://www.thaimrcfisheries.org/WEBSITE/June_FMG_report/Fisheries%20Co-management.pdf

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาด้านการประมง


"…ทรัพยากรด้านประมงจะต้องจัดเป็นระเบียบ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าปล่อยพันธุ์ปลาให้ดี หรือเลี้ยงปลาให้เติบโตดี สำคัญที่ว่าธรรมชาติเราปล่อยปลาลงไปแล้ว มันจะผสมพันธุ์หรือไม่ผสมพันธุ์ก็แล้วแต่ แต่ว่ามันก็เติบโตตามธรรมชาติใช้การได้ ปัญหาอยู่ที่ในด้านบริหารการจับปลา ไม่ใช่ในด้านการเลี้ยงปลา ในด้านการเลี้ยงปลา สถานีประมงต่าง ๆ ก็ทำแล้ว แต่ที่จะต้องทำคือ บริหารเกี่ยวกับการจับปลาให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง ๆ …"                        (พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการบริการ และคณะเจ้าหน้าที่ของศูนย์การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗) 





พระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประมงชายฝั่ง ประมงน้ำกร่อย และประมงน้ำจืด
     ในด้านการประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองค้นคว้า วิจัยทางด้านการประมงในศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่าง ๆ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่างคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร หรือศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้ศึกษาและพัฒนาด้านการประมง ซึ่งมิใช่การศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการชั้นสูง แต่ต้องศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมาใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติจริงได้ เป็นการเชื่อมระหว่างการค้นคว้าวิจัยกับการประกอบอาชีพของเกษตรกร เพื่อให้ราษฎรธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีความรู้มากนักก็สามารถทำได้ ดังพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"… ควรดำเนินการพัฒนาการประมงให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ โดยการพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลาและส่งเสริมให้ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นได้ ทั้งการประมงและการปลูกพืชผักบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำด้วย เพราะการขุดบ่อขึ้นใหม่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือถ้าน้ำท่วมปลาก็จะหนีไปหมด …"
 

การพัฒนาการประมงตามพระราชดำริมิใช่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยต่อการศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลาอยู่เสมอมา เช่น การรักษาพันธุ์ปลาบางชนิดมิให้กลายพันธุ์ไป โดยขอให้ดำเนินการด้านพัฒนาพันธุกรรมเพื่อรักษาต้นพันธุ์ไว้ด้วย มิใช่เป็นการผลิตเพื่อนำไปปล่อยอย่างเดียว เป็นต้น หรือในกรณีที่ปลาบางชนิดซึ่งเป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลง จนอาจสูญพันธุ์ได้ เช่น ปลาบึก ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีอยู่แต่เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น ก็ทรงห่วงใยในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง และทรงให้ค้นคว้าหาวิธีการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไว้ให้ได้ ซึ่งก็ทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้าตลอดเวลา จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ

นอกจากการพัฒนาศึกษา ค้นคว้า ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการประมงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงห่วงใยถึงการจับปลาของประชาชนด้วย โดยมีพระราชดำรัสให้พิจารณาศึกษาการวางระเบียบบริหาร เกี่ยวกับการจับปลาในแหล่งน้ำ รวมทั้งเทคนิคในการควบคุมการจับปลาด้วย ในเวลาเดียวกันกับที่มีการจับปลาก็ควรมีการลงทุนเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปลา ถ้าสามารถศึกษาและทำให้การจับปลาเป็นระเบียบเรียบร้อยได้โดยไม่มีการแก่งแย่งกัน เอาเปรียบกัน ไม่ทำลายพันธุ์ปลา ปลาก็จะไม่สูญพันธุ์ สามารถจับปลาได้โดยตลอด ก็จะเป็นทางที่เหมาะสมและได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับแหล่งน้ำอื่น ๆ ดังที่ได้เคยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า
"… ได้ปล่อยปลามาหลายปีแล้ว และปลาก็เติบโตดี มีการจับปลาร่ำรวยกัน แต่ว่าผู้ที่ร่ำรวยไปไม่ใช่เป็นชาวบ้านที่อยู่แถวนี้ เป็นพวกที่เรียกว่า เป็นนายทุนเป็นส่วนมาก ฉะนั้นถ้าอยากใช้ทรัพยากรในด้านประมง จะต้องจัดเป็นระเบียบ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าปล่อยพันธุ์ปลาให้ดีหรือเลี้ยงปลาให้เติบโตดี สำคัญว่าตามธรรมชาติเราปล่อยปลาลงไปแล้ว มันจะผสมพันธุ์หรือไม่ผสมพันธุ์ก็แล้วแต่ แต่ว่ามันก็เติบโตตามธรรมชาติ เมื่อเติบโตมากแล้วก็ใช้การได้ ปัญหาอยู่ที่ในด้านบริหารด้านจับปลา เรื่องเพาะปลานี้ก็เป็นหน้าที่ของสถานีประมงต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว สำหรับศูนย์ศึกษานี้ก็รู้สึกว่าต้องให้เป็นเรื่องชีวิตของเกษตรกรในด้านการประมง ที่จะสามารถหาประโยชน์ได้ ตั้งตัวได้ และก็ควรจะตั้งเป็นกลุ่ม จะได้สามารถที่จะหาตลาดได้สะดวก ไม่มีการทะเลาะ ไม่มีการแก่งแย่งกัน และไม่ทำลายพันธุ์ปลาด้วย …"
 
      จากการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นับว่าได้ก่อประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรให้สูงขึ้น ราษฎรมีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคกันอย่างทั่วถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารโปรตีนได้เป็นอย่างดี อาจกล่าวได้โดยสรุปว่า ประโยชน์ในระยะสั้นราษฎรได้รับความรู้และเทคนิคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และมีอาหารสัตว์น้ำบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ช่วยให้ราษฎรที่ยากจนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น สำหรับในอนาคตหรือประโยชน์ในระยะยาวนั้น คาดว่าเมื่อราษฎรมีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากขึ้น ก็จะสามารถผลิตสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการส่งออก ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างฐานะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
ที่มา .....http://web.ku.ac.th/king72/2539/kaset5.htm

ภาพแสดงแหล่งน้ำลำน้ำร่องเบ้อ