วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจัดการประมงโดยชุมชน


        หากการจัดการทรัพยากรประมงไม่มีการ จัดการแบบมีส่วนร่วม จากผู้ได้เสียประโยชน์ประโยชน์ จะทำให้การตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร มีแนวโน้มและทิศทางการ สั่งการจากเบื้องบน (Top-down management) ส่งผลให้ผู้ใช้ทรัพยากรบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการประมง ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ข่าวสารข้อมูลไม่ได้รับการสื่อสารไปถึงผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ใช้ทรัพยากรไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือความรู้สึกรับผิดชอบต่อการดูแลทรัพยากรร่วมกันของท้องถิ่น  นำไปสู่การไม่ยอมรับสิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากรประมง  การละเมิดกติกาที่เป็นข้อตกลงร่วม รวมถึงการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย  ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ทรัพยากรและความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร  และความต้องการใช้ทรัพยากรแบบล้างผลาญ  จะเร่งให้ทรัพยากรประมงที่มีอยู่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ การจัดการร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความรับผิดชอบอำนาจและบทบาทในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วม ในการจัดการ (ได้แก่ผู้ใช้ทรัพยากร ชุมชน และหน่วยงานรัฐ ) เพื่อให้การจัดการประมงมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น 

          ที่มา กรมประมง. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. 2548. โครงการจัดการประมงตามหลักธรรมมาภิบาล

ภาพแสดงแหล่งน้ำลำน้ำร่องเบ้อ